วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 4 วันที่ 28/11/2555



อาจารย์ทบทวน เรื่่อง ขอบข่ายคณิตศาสตร์ สอนการเขียนอ้งอิงว่า ควรรูปแบบเป็นรูปแบบอย่างไร

ยกตัวอย่าง ขอบข่าย คณิตศาสตร์ของ นิตยา  ประพฤติกิจ 2541: 17-19 มีดังต่อไป

  1. การนับ เป็นการอยากรู้จำนวน
  2. ตัวเลข สัญลักษณ์แทนค่าจำนวน ลำดับ
  3. จับคู่ สิ่งที่อยู่ประเภทเดียวกัน
  4. การจัดประเภท ฝึกสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ
  5. การเปรียบเทียบ อาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง
  6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดๆตามคำสั่ง
  7. รูปทรงและเนื้อที่ ให้เด็กเรียนรู้รูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นปกติ
  8. การวัด ให้เด็กรู้จักความยาวและระยะ
  9. เชต สอนจากสิ่งรอบตัว เชื่อมโยงกับสภาพรวม
  10. เศษส่วน สอนโดยเน้นส่วนรวม โดยลงมือปฎิเสธเข้าใจความหมาย ความคิดรวบยอด
  11. การทำตามแบบลวดลาย การพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบลวดลายและการจำแนกด้วยสายตา
  12. การอนุรักษ์ หรือ การคงที่ด้านปริมาณ

ยกตัวอย่าง ขอบข่ายคณิตศาสตร์ สิ่งที่จะยกมาคือ แก้วน้ำ
 จากการนับ ให้นับจำนวนแก้วน้ำว่ามีกี่ใบ แทนค่าสัญลักษณ์เป็นตัวเลข จับคู่ลักษณ์ของแก้วน้ำ ทรงสูงและทรงเตี้ย เปรียบเทียบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของแก้วน้ำว่า แก้วน้ำแต่ละชนิดมีลักษณธคล้ายหรือต่างกันอย่างไร การจัดลำดับ สามารถแยกแก้วน้ำเป็นรูปทรงต่างๆได้ว่ารูปทรงมีลักษณะอย่างไร รูปทรงและพื้นที่่ ให้เด็กได้เล่นเกม ทำกิจกรรม ที่ใช้แก้วน้ำ เช่น เทน้ำจากแก้วหนึ่งไปยังแก้วหนึ่ง ให้เด็กได้เรียนรู้รูปทรงจากการทำกิจกรรม เชต ให้เด็กได้ลงมือ วัด หรือสังเกต ความยาวของแก้ว หรือขนาด เศษส่วน สอนให้เด็กดูจากแก้ว ว่าลักษณะอย่างไร การทำตามแบบลวดลาย สามารถนำแก้วหลายๆใบ ที่มีลายต่างๆกันมาให้เด็ก ดูและสังเกตจำแนกจดจำลวดลายแก้วใบต่างๆ การอนุรักษ์ ให้เด้กได้รู้ควมแตกต่างว่า ถ้าแก้ว ปริมาณเท่ากันแต่ลักษณะต่างกัน ถ้าเทน้ำไปอีกใบก็จะมีลักษณะคงที่ แม้รูปร่างของแก้วจะเปลี่ยนไป





คนที่สองที่อาจารย์ได้ยกตัวอย่างมาให้ดู คือ


เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 . 87 - 88) ได้ให้ความสำคัญของขอบข่ายคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย โดยนำเสนอเนื้อหาการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษา เพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ดังนี้
1. การจัดกลุ่มหรือเซต สิ่งที่ควรสอนได้แก่
1.1 การจับคู่ 1 : 1
1.2 การจับคู่สิ่งของ
1.3 การรวมกลุ่ม
1.4 กลุ่มที่เท่ากัน
1.5 ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
2. จำนวน 1 - 10 การฝึกนับ 1 - 10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
3. ระบบจำนวน (Number System) และชื่อของตัวเลข 1 = หนึ่ง 2 = สอง
4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต ฯลฯ (Union / Operation sets)
5. สมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (Properties of Math)
6. ลำดับที่ ความสำคัญ และประโยคคณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวน ปริมาตร คุณภาพต่าง ๆ เช่น มาก - น้อย สูง - ต่ำ
7. การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เด็กควรสามารถวิเคราะห์ปัญหาง่าย ๆ ทางคณิตศาสตร์ทั้งที่เป็นจำนวนและไม่ใช่จำนวน
8. การวัด (Measurement) ได้แก่ การวัดสิ่งที่เป็นของเหลว สิ่งของ เงินตรา อุณหภูมิ ฯลฯ รวมถึงมาตราส่วนและเครื่องมือในการวัด
9. รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาด ระยะทาง เช่น รูปสิ่งของที่มีมิติต่าง ๆ จากการเล่มเกม และจากการศึกษาถึงสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว10. สถิติและกราฟ ได้แก่ การศึกษาจากการบันทึก ทำแผนภูมิ การเปรียบเทียบต่าง ๆ 


ตารางสรุป ขอบข่ายคณิตศาสตร์


นิตยา  ประพฤติกิจ 2541: 17-19 





เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 . 87 - 88)




วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 3 วันที่ 21/11/2555

อาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ช่วยกันระดมความคิดเกี่ยวกับ ความหมายคณิตศาสตร์ ให้เอาของแต่ละ ที่อาจารย์ได้สั้งให้ไปหามาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มารวมกัน เพื่อเป็นงานของกลุ่ม


เนื้อหาที่ได้จากการรวบรวมงานกลุ่ม ของแต่ละคน

ความหมายคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างทั้งหลายที่แสดงได้ด้วยสัญลักษณ์ และมีหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์   เป็นวิชาที่ว่าด้วยการคำนวณเน้นในด้านความคิด ความเข้าใจ จากกิจกรรมประสบการณ์ และของจริงหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานทางจำนวน  โดยจัดให้มีความสัมพันธ์  และคำนึงถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
 (ฉวีวรรณ  กีรติกร  การสอนกลุ่มทักษะ 2 คณิตศาสตร์ (ปี พ.ศ.2527) หน้าที่ 5 )
( พจนานุกรมฉบับราชบัณฑตยสถาน พ.ศ.2525  ราชบัณฑิตยสถาน 2525: 162 )

ขอบข่ายเนื้อหาคณิตศาสตร์
การจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัย มีเนื้อหาในเรื่อง  การนับจำนวน  การจำแนก  รูปร่าง  รูปทรง  ขนาด  แนวคิดเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์  หลักสูตร  และการใช้หลักสูตรวิธีการสอน  เทคนิคการสอน  การเตรียมการสอน  การสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย  การสอนจำนวนและตัวเลข
( ที่มา  ฉวีวรรณ   วีรติกร  การสอนกลุ่มทักษะ 2 คณิตศาสตร์ ( ปี พ.ศ. 2527 ))


หลักการคณิตศาสตร์
ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์อย่างเป็นระบบนั้น  ผู้สอนมีภารกิจสำคัญที่จะต้องปฏิเสธอย่างไรเป็นขั้นตอน คือ กำหนดผลที่คาดหวังจากกระบวนการ  วินิจฉัยผู้เรียนกำหนดจุดประสงค์การเรียน  การสอนกำหนด  เนื้อหาสาระวิธีการสอน  และสื่อการสอน  ชี้ทางและนำทางในกิจกรรมการเรียนการสอน  และผลลัพธ์ของกระบวนการ
( ที่มา ดร.อภิรมย์  ณนคร  คู่มือคณิตศาสตร์เบื้องต้น )

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 2 วันที่ 14/11/2555

อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น แล้วให้วาดรูปอะไรก็ได้ บนกระดาษแนวนอน คนละ 1 รูปแล้วให้เขียนชื่อตัวเองลงไป อาจารย์ ขีดเส้น บนกระดาด เวลา 08.30 น. แล้วให้คนที่มาเรียนก่อนเวลา 08.30 น. นำรูปที่ตัวเองมาติดบนกระดาด แล้วอาจารย์อธิบายเกี่ยวกับ คณิตศาสตร์ ว่าบนกระดาด เราเห็นอะไรบ้าง ที่เป็นคณิตศาสตร์ เช่น

- รูปร่าง
- รูปทรง
- ขนาด
- การจัดหมวดหมู่
- การจำแนก
- จำนวน  (การนับ)

ถ้าเราอยากรู้ว่าจำนวนเท่าไหร่ ต้องใช้การนับ ใช้เลขฮินดูอาโรบิค ในการบอกจำนวน



คณิตศาสตร์จะใช้เลขฐาน 10 และอาจารย์ก็ให้ออกมาเรียงใหม่ โดยเรียงให้เป็นแถว 



การสอนเด็ก ให้จดจำในตัวเองอาจมีวิธีการ โดยการใช้สัญลักษณ์ ให้เด็กได้รู้ เช่น 

เลข 1 เหมือน เสาร์ธง
เลข 2 เหมือนคอห่าน
เลข 3 เหมือนตัวหนอน
เลข 4 เหมือนหลังคาบ้าน หรือ เรือใบ
เลข 5 เหมือน แอปเปิ้ลครึ่งลูก
เลข 6 เหมืือนคนชี้เท้า

เป็นต้น จะเป็นสัญลักษณ์ที่ช่วยสอนเด็ก โดยการใช้ภาพ 

และอาจารย์ก็สั่งงาน ให้ไปค้นหางานที่ห้องสมุด 




วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 1 วันที่ 07/11/2555

ย้ายมาเรียนที่ตึกคณะ ห้อง 224  คาบแรกของการเรียนการสอน สร้างข้อตกลงการสอน วางแผนการเรียนการสอน วางวัตถุประสงค์ การแต่งกายในการมาเรียน
การจัดประสบการณ์ จะเป็นการคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การศึกษาปฐมวัยจะใช้ การสอนว่า การจัดประสบการณ์ อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้เขียนว่า เรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ การจัดประสบการ์คณิตศาสตร์ ให้เขียนมา 1 ประโยค และคิดว่าการเรียนวิชานี้จะเรียนแบบไหนแล้ว เข้าใจความหมายว่าจะสอนอย่างไร กับเด็กปฐมวัยในเรื่องคณิตศาสตร์  ให้แยกความหมาย ของชื่อวิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 








การจัดกิจกรรม ควรจัดให้ครบทั้ง 6 กิจกรรม เช่น

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
กิจกรรมบทบาทสมมุติ
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
กิจกรรมตามมุม เป็น กิจกรรมเสรี
กิจกรรมวงกลม เป็น กิจกรรมเสริมประสบการณ์
กิจกรรมเครื่องเล่นสนาม เป็น กิจกรรมกลางแจ้ง