วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 7 วันที่ 19/12/2555

อาจารย์ให้ส่งงานวงกลม ที่ได้สั่งไปเมื่่อ อาทิตย์ที่แล้ว มาส่ง พร้อมเซ็นชื่อ ส่งแล้ว มีเพื่อนบางคนทำมาผิด อาจารย์ให้กลับไปทำมาใหม่ ถือว่า เป็นคนมีความรับผิดชอบ แต่อาจจะฟังการสื่อสารผิดพลาด



อาจารย์พูดถึง เรื่อง มาตราฐานต้องนึกถึง คุณภาพ ตัวชี้วัด ตัววัดผล สถานศึกษา การสอบ สินค้า ผลิตภัณฑ์ 
  
- ภาษา เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในการสื่อสาร
- คณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในการคำนาณและการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
- กรอบนึกถึงจำกัด ขอบเขต กฎเกณฑ์

ศัตรูของความคิดสร้างสรรค์ คือการขาดความเชื่อมั่น
ปัจจัยการขาดความเชื่อมั่น คือ ตัวครูไม่รู้จักรอคอย ไม่ให้เวลาเด็ก ครูต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล

การใช้เหตุผล พัฒนาการ การอนุรักษ์ จำนวน ค่า-ปริมาณ ตัวเลข สัญลักษณ์ รูปภาพ ของจริง รูปธรรม กึ่งธรรม นามธรรม

ของจริง รูปภาพ สัณลักษณ์ เป็นส่วนขยาย
รูปธรรม กึ่งธรรม นามธรรม เป็นส่วนขยาย

การนับสิ่งของ
การเพิ่มคือ บวก การลดคือ ลบ

คณิตศาสตร์ จับคู่ ขนาด รูปทรง
วงกลม ไม่มีมุม ไม่มีเหลี่ยม เป็นพื้นที่ปิด
พื้นที่ ไม่มีส่วนเกิน
ปริมาณ ไม่มีส่วนเหลือ



กรอบมาตราฐาน โดย สสวท.

มาตราฐานที่ 1 จำนวนและดำเนินการ 
เป็นความหลากหลายรู้ถึงค่าและดำเนินการ
มาตราฐานที่ 2 การวัด 
การใช้เครื่องมือเ่พือหาค่าหรือปริมาณ ทั้งน้ำหนัก ส่วนสูง เงิน 
มาตราฐานที่ 3 เรขาคณิต 
ตำแหน่งทิศทางและระยะทาง ตำแหน่ง = หน้า หลัง นอก ใน ทิศทาง = ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศตะวันออก ระยะทาง = ใกล้ ไกล และต้องรวมรูปทรงเลขาคณิตด้วย
มาตราฐานที่ 4 พีชคณิต 
การเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ แบบรูปคือ แบบที่เขากำหนดแล้วให้เราทำตามแบบ
มาตราฐานที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 
การรวบรวมข้อมูลต่างๆที่จะคำนาณ

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 6 วันที่ 12/12/2555

อาจารย์ให้ส่งงานจากสัปดาห์ที่แล้วที่อาจารย์ให้ไปจับคู่ เขียนความหมายคณิตศาสตร์ และอาจารย์นำมาอธิบายเพิ่มเติมหน้าห้อง


หลังจากนั่นอาจารย์ให้ไปหยิบกล่องมาคนละ 1 กล่อง ซึ่งกล้องมีสภาพไม่สมบูรณ์ให้เรานำมาประกอบเอง โดยใช้กาวติดกล่องให้เป็นรูปที่สมบูรณ์


และนำกล่องที่นำพับได้ ไปรวมกับของเพื่อน อีก 1 คน


หลังจากรวมกับเพื่อน 2 คนแล้ว ก็นำไปรวมกับเพื่อนกลุ่มใหญ่ 10 คน ให้ประกอบรวมกันเป็นรูปอะไรก็ได้


กลุ่มดิฉัน ประกอบกันเป็น หุ่นยนตร์


พอทุกกลุ่ม ประกอบกล่งเสร็จแล้วทุกกลุ่ม อาจารย์ก็ให้ยกไปวางที่่โต๊ะของอาจารย์ แล้วถามว่าสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นมาคืออะไร สามารถสอนอะไรเด็กได้บ้าง ไม่ใช่ให้ทำแบบไร้ประโยชน์ สิ่งที่สามารถสอนเด็กได้คือ เรื่องของ  ขนาด การจำแนก การจัดลำดับ  การเปรียบเทียบ


และอาจารย์ ก็ให้นำงานที่ทุกกลุ่มทำขึ้นมา ประกอบรวมกันจะเป็นนิทรรศกาล ว่าจะจัดออกมาเป็นรูปแบบไหน


ครั้งที่1 จากการจัดนิทรรศกาล อาจารย์ได้บอกข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข คือ มันห่างกัน แล้วทางเดินการเข้างานก็ไม่มี



ครั้งที่ 2 เพื่อนๆร่วมกันคิด แก้ไขอีกครั้ง แต่ก็ยังมีจุดบกพร่องอีกเล้กน้อย เกี่ยวกับทางเดินเข้างาน และทางรถไฟ


ครั้งที่ 3 อาจารย์เข้ามามีส่วนร่วมในการแนะนำข้อบกพร่องว่าควรจะแก้ไขแบบไหน


และนี้คือ ครั้งที่ สมบูรณ์แบบแล้ว อาจารย์ลงมาให้คำแนะนำ


หลังจากนั่น เราก็ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อยเหมือนเดิม จัดแจกจำแนกของกล่องแต่ละประเภท


เมื่อเก็บอุปกรณ์เสร็จสิ้นหมดแล้ว อาจารย์ก็มาสรุปผลจากการทำกิจกรรมครั้งนี้ ว่าเราสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยอย่างไร ใช้แบบไหน แล้วสามารถสอนเกี่ยวกับเรื่องอะไรให้เด็กได้บ้าง 



** หมายเหตุ
 การบ้าน คือ ให้ตัดกระดาษจากกระดาษกล่องเป็นวงกลม ที่มีจุดผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว 1.5 นิ้ว และ 2 นิ้ว อย่างละ 3 สี มีสีเหลือง สีเขียวเข้มและสีชมพู รวมเป็น 9 ชิ้น 



วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 5 วันที่ 05/12/2555

ไม่มีการสอนเนื่องจาก หยุด วันพ่อ




ประวัติความเป็นมา

วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม หลักการและเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อ เนื่อง จากพ่อ เป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนและตอบ แทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ อีกทั้งยังทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและ พระราชธิดาที่ทรงรักใคร่ห่วงใย ตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน และพระเจ้าหลานเธอทุก ๆ พระองค์ต่างซาบซึ้ง ในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระ เมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้

พระราชประวัติ
พระ บาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระโอรสองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออร์เบินณ์ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาชูเซสท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระองค์ทรงมีพระเชษฐาธิราช (พี่ชาย) และพระเชษฐภคินี (พี่สาว) 2 พระองค์คือ 1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 2. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8)

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ทรง ขึ้นครองราชเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงค์สิกิติ์ กิติยากร (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนารถ) ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 4 พระองค์ คือ

1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

2. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร

3. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

พระราชกรณียกิจของพระองค์ พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภาคตลอดปี โดยได้เสด็จประทับแรมที่พระตำหนัก ตามภาคต่าง ๆ เพื่อจะได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของประชาชน และหาทางแก้ไขต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงทำให้เกิดโครงการ เช่น โครงการพัฒนาที่ดินทำกินเพื่อให้ราษฎรมีที่ทำมาหากิน โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำ การทำฝนเทียมเพื่อแก้ปัญหาฝนแล้ง การประมง การเลี้ยงสัตว์ การตั้งสหกรณ์ เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเยี่ยมทหาร ตำรวจและอาสาสมัครในจังหวัดต่าง ๆ ตลอดจนเขตที่มีภัย อันตราย รวมทั้งผู้บาดเจ็บจากการป้องกันประเทศตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด นอกจากนั้นยังทรงโปรดให้มีหน่วยแพทย์พระราชทาน เพื่อให้การรักษาพยาบาลราษฎรในชนบท เช่น ตรวจสุขภาพ ปลูกฝี ฉีดยา เป็นต้น ถ้าราษฎรคนใดเจ็บป่วยเรื้อรังก็ทรงรับเป็นคนไข้ส่วนพระองค์ ส่งมารักษาตัวที่กรุงเทพฯ ทรงโปรดให้มีการช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาในยามที่ราษฎรได้รับความทุกข์ยากจากภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ วาตภัย หรือจากผู้ก่อการร้าย โดยพระองค์ทรงพระราชทานแนวทางแก้ไข รวมถึงเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค อาหาร ตลอดจนที่อยู่อาศัยแก่ราษฎรที่เดือดร้อนอีกด้วย อีกทั้งยังทรงส่งเสริมการศึกษา โดยได้ทรงพระราชทาน ทรัพย์ส่วนพระองค์ ตั้งกองทุน "ภูมิพล" พระราชทานแก่นิสิตนักศึกษาที่เรียนดี ทรงริเริ่มให้จัดทำสารานุกรมไทย สำหรับเยาวชนขึ้น เพื่อให้เด็กแต่ละวัยสามารถค้นคว้าได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังเสด็จพระราชดำเนินไปพระราช ทานปริญญาบัตรที่จบการศึกษาในมหาลัยต่าง ๆ ด้วย ทรงอุปถัมภ์และบำรุงศาสนาทุกศาสนา ทรงทะนุบำรุงวัดวา อารามต่าง ๆ พร้อมทั้งเสด็จขึ้นบำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางศาสนาอยู่เสมอด้วย

พระ ราชกรณียกิจที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอีกมากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์แก่ราษฎรทั้งสิ้น ดังนั้นในวันที่ 5 ธันวาคม ของทุก ๆ ปี สถานที่ราชการโรงเรียนและบริษัทต่าง ๆ จะหยุด 1 วัน เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เพื่อน้อมเกล้าถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



เพลง พ่อแห่งแผ่นดิน







วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

03/12/2012

จัดบอร์ดงานวันพ่อ


เริ่มจากการวางแผน จัดหาข้อมูลที่ต้องการทำบอร์ด 



หารูปภาพเพิ่มเติม เมื่อได้เนื้อหามาแล้ว จัดเรียงเนื้อหาที่จะวางในแต่บอร์ด


รูปร่างของบอร์ดที่จัดเสร็จ บอร์ดที่หนึ่ง



เข้าร่วมกิจกรรมงานวันพ่อ ลงนามถวายพระพร ณ.ใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์




ภาพบรรยากาศภายในงาน นักศึกษามาร่วมร้องเพลง วันพ่อ ณ.ใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์




นักศึกษาเอก อังกฤษ ร่วมกันร้องเพลง oh i say 



อาจารย์ และ ป้าหนิง ร้องเพลงภายในงาน

คลิปเพลง




วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 4 วันที่ 28/11/2555



อาจารย์ทบทวน เรื่่อง ขอบข่ายคณิตศาสตร์ สอนการเขียนอ้งอิงว่า ควรรูปแบบเป็นรูปแบบอย่างไร

ยกตัวอย่าง ขอบข่าย คณิตศาสตร์ของ นิตยา  ประพฤติกิจ 2541: 17-19 มีดังต่อไป

  1. การนับ เป็นการอยากรู้จำนวน
  2. ตัวเลข สัญลักษณ์แทนค่าจำนวน ลำดับ
  3. จับคู่ สิ่งที่อยู่ประเภทเดียวกัน
  4. การจัดประเภท ฝึกสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ
  5. การเปรียบเทียบ อาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง
  6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดๆตามคำสั่ง
  7. รูปทรงและเนื้อที่ ให้เด็กเรียนรู้รูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นปกติ
  8. การวัด ให้เด็กรู้จักความยาวและระยะ
  9. เชต สอนจากสิ่งรอบตัว เชื่อมโยงกับสภาพรวม
  10. เศษส่วน สอนโดยเน้นส่วนรวม โดยลงมือปฎิเสธเข้าใจความหมาย ความคิดรวบยอด
  11. การทำตามแบบลวดลาย การพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบลวดลายและการจำแนกด้วยสายตา
  12. การอนุรักษ์ หรือ การคงที่ด้านปริมาณ

ยกตัวอย่าง ขอบข่ายคณิตศาสตร์ สิ่งที่จะยกมาคือ แก้วน้ำ
 จากการนับ ให้นับจำนวนแก้วน้ำว่ามีกี่ใบ แทนค่าสัญลักษณ์เป็นตัวเลข จับคู่ลักษณ์ของแก้วน้ำ ทรงสูงและทรงเตี้ย เปรียบเทียบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของแก้วน้ำว่า แก้วน้ำแต่ละชนิดมีลักษณธคล้ายหรือต่างกันอย่างไร การจัดลำดับ สามารถแยกแก้วน้ำเป็นรูปทรงต่างๆได้ว่ารูปทรงมีลักษณะอย่างไร รูปทรงและพื้นที่่ ให้เด็กได้เล่นเกม ทำกิจกรรม ที่ใช้แก้วน้ำ เช่น เทน้ำจากแก้วหนึ่งไปยังแก้วหนึ่ง ให้เด็กได้เรียนรู้รูปทรงจากการทำกิจกรรม เชต ให้เด็กได้ลงมือ วัด หรือสังเกต ความยาวของแก้ว หรือขนาด เศษส่วน สอนให้เด็กดูจากแก้ว ว่าลักษณะอย่างไร การทำตามแบบลวดลาย สามารถนำแก้วหลายๆใบ ที่มีลายต่างๆกันมาให้เด็ก ดูและสังเกตจำแนกจดจำลวดลายแก้วใบต่างๆ การอนุรักษ์ ให้เด้กได้รู้ควมแตกต่างว่า ถ้าแก้ว ปริมาณเท่ากันแต่ลักษณะต่างกัน ถ้าเทน้ำไปอีกใบก็จะมีลักษณะคงที่ แม้รูปร่างของแก้วจะเปลี่ยนไป





คนที่สองที่อาจารย์ได้ยกตัวอย่างมาให้ดู คือ


เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 . 87 - 88) ได้ให้ความสำคัญของขอบข่ายคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย โดยนำเสนอเนื้อหาการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษา เพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ดังนี้
1. การจัดกลุ่มหรือเซต สิ่งที่ควรสอนได้แก่
1.1 การจับคู่ 1 : 1
1.2 การจับคู่สิ่งของ
1.3 การรวมกลุ่ม
1.4 กลุ่มที่เท่ากัน
1.5 ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
2. จำนวน 1 - 10 การฝึกนับ 1 - 10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
3. ระบบจำนวน (Number System) และชื่อของตัวเลข 1 = หนึ่ง 2 = สอง
4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต ฯลฯ (Union / Operation sets)
5. สมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (Properties of Math)
6. ลำดับที่ ความสำคัญ และประโยคคณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวน ปริมาตร คุณภาพต่าง ๆ เช่น มาก - น้อย สูง - ต่ำ
7. การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เด็กควรสามารถวิเคราะห์ปัญหาง่าย ๆ ทางคณิตศาสตร์ทั้งที่เป็นจำนวนและไม่ใช่จำนวน
8. การวัด (Measurement) ได้แก่ การวัดสิ่งที่เป็นของเหลว สิ่งของ เงินตรา อุณหภูมิ ฯลฯ รวมถึงมาตราส่วนและเครื่องมือในการวัด
9. รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาด ระยะทาง เช่น รูปสิ่งของที่มีมิติต่าง ๆ จากการเล่มเกม และจากการศึกษาถึงสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว10. สถิติและกราฟ ได้แก่ การศึกษาจากการบันทึก ทำแผนภูมิ การเปรียบเทียบต่าง ๆ 


ตารางสรุป ขอบข่ายคณิตศาสตร์


นิตยา  ประพฤติกิจ 2541: 17-19 





เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 . 87 - 88)




วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 3 วันที่ 21/11/2555

อาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ช่วยกันระดมความคิดเกี่ยวกับ ความหมายคณิตศาสตร์ ให้เอาของแต่ละ ที่อาจารย์ได้สั้งให้ไปหามาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มารวมกัน เพื่อเป็นงานของกลุ่ม


เนื้อหาที่ได้จากการรวบรวมงานกลุ่ม ของแต่ละคน

ความหมายคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างทั้งหลายที่แสดงได้ด้วยสัญลักษณ์ และมีหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์   เป็นวิชาที่ว่าด้วยการคำนวณเน้นในด้านความคิด ความเข้าใจ จากกิจกรรมประสบการณ์ และของจริงหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานทางจำนวน  โดยจัดให้มีความสัมพันธ์  และคำนึงถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
 (ฉวีวรรณ  กีรติกร  การสอนกลุ่มทักษะ 2 คณิตศาสตร์ (ปี พ.ศ.2527) หน้าที่ 5 )
( พจนานุกรมฉบับราชบัณฑตยสถาน พ.ศ.2525  ราชบัณฑิตยสถาน 2525: 162 )

ขอบข่ายเนื้อหาคณิตศาสตร์
การจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัย มีเนื้อหาในเรื่อง  การนับจำนวน  การจำแนก  รูปร่าง  รูปทรง  ขนาด  แนวคิดเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์  หลักสูตร  และการใช้หลักสูตรวิธีการสอน  เทคนิคการสอน  การเตรียมการสอน  การสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย  การสอนจำนวนและตัวเลข
( ที่มา  ฉวีวรรณ   วีรติกร  การสอนกลุ่มทักษะ 2 คณิตศาสตร์ ( ปี พ.ศ. 2527 ))


หลักการคณิตศาสตร์
ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์อย่างเป็นระบบนั้น  ผู้สอนมีภารกิจสำคัญที่จะต้องปฏิเสธอย่างไรเป็นขั้นตอน คือ กำหนดผลที่คาดหวังจากกระบวนการ  วินิจฉัยผู้เรียนกำหนดจุดประสงค์การเรียน  การสอนกำหนด  เนื้อหาสาระวิธีการสอน  และสื่อการสอน  ชี้ทางและนำทางในกิจกรรมการเรียนการสอน  และผลลัพธ์ของกระบวนการ
( ที่มา ดร.อภิรมย์  ณนคร  คู่มือคณิตศาสตร์เบื้องต้น )

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 2 วันที่ 14/11/2555

อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น แล้วให้วาดรูปอะไรก็ได้ บนกระดาษแนวนอน คนละ 1 รูปแล้วให้เขียนชื่อตัวเองลงไป อาจารย์ ขีดเส้น บนกระดาด เวลา 08.30 น. แล้วให้คนที่มาเรียนก่อนเวลา 08.30 น. นำรูปที่ตัวเองมาติดบนกระดาด แล้วอาจารย์อธิบายเกี่ยวกับ คณิตศาสตร์ ว่าบนกระดาด เราเห็นอะไรบ้าง ที่เป็นคณิตศาสตร์ เช่น

- รูปร่าง
- รูปทรง
- ขนาด
- การจัดหมวดหมู่
- การจำแนก
- จำนวน  (การนับ)

ถ้าเราอยากรู้ว่าจำนวนเท่าไหร่ ต้องใช้การนับ ใช้เลขฮินดูอาโรบิค ในการบอกจำนวน



คณิตศาสตร์จะใช้เลขฐาน 10 และอาจารย์ก็ให้ออกมาเรียงใหม่ โดยเรียงให้เป็นแถว 



การสอนเด็ก ให้จดจำในตัวเองอาจมีวิธีการ โดยการใช้สัญลักษณ์ ให้เด็กได้รู้ เช่น 

เลข 1 เหมือน เสาร์ธง
เลข 2 เหมือนคอห่าน
เลข 3 เหมือนตัวหนอน
เลข 4 เหมือนหลังคาบ้าน หรือ เรือใบ
เลข 5 เหมือน แอปเปิ้ลครึ่งลูก
เลข 6 เหมืือนคนชี้เท้า

เป็นต้น จะเป็นสัญลักษณ์ที่ช่วยสอนเด็ก โดยการใช้ภาพ 

และอาจารย์ก็สั่งงาน ให้ไปค้นหางานที่ห้องสมุด 




วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 1 วันที่ 07/11/2555

ย้ายมาเรียนที่ตึกคณะ ห้อง 224  คาบแรกของการเรียนการสอน สร้างข้อตกลงการสอน วางแผนการเรียนการสอน วางวัตถุประสงค์ การแต่งกายในการมาเรียน
การจัดประสบการณ์ จะเป็นการคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การศึกษาปฐมวัยจะใช้ การสอนว่า การจัดประสบการณ์ อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้เขียนว่า เรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ การจัดประสบการ์คณิตศาสตร์ ให้เขียนมา 1 ประโยค และคิดว่าการเรียนวิชานี้จะเรียนแบบไหนแล้ว เข้าใจความหมายว่าจะสอนอย่างไร กับเด็กปฐมวัยในเรื่องคณิตศาสตร์  ให้แยกความหมาย ของชื่อวิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 








การจัดกิจกรรม ควรจัดให้ครบทั้ง 6 กิจกรรม เช่น

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
กิจกรรมบทบาทสมมุติ
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
กิจกรรมตามมุม เป็น กิจกรรมเสรี
กิจกรรมวงกลม เป็น กิจกรรมเสริมประสบการณ์
กิจกรรมเครื่องเล่นสนาม เป็น กิจกรรมกลางแจ้ง